top of page
Writer's pictureNatthanan Kongchu

แนะนำโปรแกรมวิศวะโยธาที่ม.เกียวโต Undergraduate International Course Program of Civil Engineering

แนะนำโปรแกรม Undergraduate International Course Program of Civil Engineering

source: https://www.t.kyoto-u.ac.jp/en


Undergraduate International Course Program of Civil Engineering (ICP) เป็นโปรแกรมระดับปริญญาตรีเพียงหนึ่งเดียวของ Kyoto University ที่ทุกวิชาจะจัดสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดเพื่อดึงดูดนักเรียนต่างชาติในสาขา Civil Engineering หรือวิศวกรรมโยธาภายใต้ Undergraduate School of Global Engineering, Faculty of Engineering หลักสูตรของโปรแกรมนี้จะให้ความรู้นักเรียนใน 4 สาขาหลักคือ Structural Engineering, Hydraulics, Geomechanics และ Urban Planning ใน 2 ปีแรกจะได้เรียนวิชาพื้นฐานเช่น คณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น และวิชาสายสังคมด้วย และจากปี 2 เป็นต้นไปก็จะได้เรียนวิชาที่เกี่ยวกับวิศวกรรมมากขึ้นเช่น Soil Mechanics, Structural Dynamics และ Planning ในปี 4 ก็จะได้ย้ายไปอยู่ประจำแลปที่มีอยู่กว่า 40 แลปทั่ว 3 วิทยาเขตเพื่อทำธีสิสจบการศึกษา ระหว่าง 4 ปีนี้ก็ยังมีโอกาสได้ทำ internship ที่ต่างประเทศอีกด้วย หลังจบการศึกษาสามารถเลือกศึกษาต่อไปยัง Graduate School ในระดับป.โท-เอก หรือจะเลือกเข้าทำงานในภาครัฐหรือบริษัทเอกชนก็ได้


แนะนำตัวแขกรับเชิญ

ชื่อ ณภัทร ไกรวิศิษฏ์กุล ชื่อเล่นชื่อ อะตอม อายุ 19 ปี เรียนอยู่โปรแกรม ICP (international civil engineering program) ที่ Kyoto University ปีสองครับ


ทำไมถึงเลือกที่นี่

เพราะว่า Kyoto University เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้าน วิศวะโยธา บวกกับเป็นสิ่งที่ผมสนใจและมหาวิทยาลัยยังให้ทุนการศึกษาเต็มจำนวนแบบไม่มีข้อผูกมัดอีกด้วย


วิธีการสมัคร

1. รูปแบบการรับสมัคร

โปรแกรม ICP จะเปิดรับนักศึกษาปีละไม่เกิน 30 คน จากทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ โดยการคัดเลือกจะมีอยู่สองรอบเท่านั้นครับ ได้แก่ รอบส่งเอกสาร และ รอบสัมภาษณ์ (ไม่มีการทำข้อสอบ) หลังจากนั้นทางมหาวิทยาลัยจะส่งอีเมล์มาแจ้งเราว่า ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน รอบส่งเอกสารนี้ ถ้าเราผ่าน มหาวิทยาลัยจะนัดวันเราไปสัมภาษณ์ออนไลน์ที่สำนักงาน Kyoto University ASEAN Center ของมหาวิทยาลัยเกียวโต อยู่ในกรุงเทพ (ตึก BB ถนนสุขุมวิท)


2. ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร

อ้างอิงจาก Guidelines for Applicants in 2022 (สมัครปี 2021 เพื่อเข้าเรียนปี 2022)

โดยทั่วไปทางมหาวิทยาลัยจะเปิดเทอม 1 ในเดือนเมษายนปีเดียวกันกับที่เราจะจบม.6 ในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ก็ถือว่าเปิดเรียนเร็วมาก แทบไม่มีช่วงเวลาปิดเทอมหลังจบม.6 เลย

3. เอกสารและคะแนนที่ต้องใช้ในการสมัคร

1. คะแนนขั้นต่ำของภาษาอังกฤษคือ IELTS overall 6.0 / iBT 80 / PBT 550 และต้องให้ทางสถาบันที่จัดการสอบนั้นส่งเอกสารคะแนนไปให้มหาวิทยาลัยโดยตรง (สามารถทำได้โดยการเข้าไปในเว็บไซต์ของสถาบันนั้น ๆ ETS ของ TOEFL และ British Council หรือ IDP ของ IELTS แล้วชำระเงินเพื่อให้ทางสถาบันส่งเอกสารไปยังมหาวิทยาลัยให้)

2.คะแนน Standardized Test ทางมหาวิทยาลัยต้องการคะแนน EJU (Examination for Japanese University Admission) แต่ถ้าไม่ได้สอบ EJU ก็ใช้คะแนนอื่น ๆ เช่น SAT, IB, A-Level แทนได้

3. Short essay (ไม่เกิน 1000 คำ) ในหัวข้อ “Why do you wish to study Civil Engineering?”

4.เอกสารสมัครมหาลัยทั่ว ๆ ไป เช่น ใบสมัคร ปพ.1 เอกสารคาดว่าจะจบการศึกษาและสลิปใบเสร็จโอนเงินค่าสมัคร (อาจจะมีเอกสารเยอะนิดหน่อย แต่เตรียมไม่ยากครับ สามารถหาดูได้ในคู่มือสมัครของมหาลัยได้เลย)

เอกสารทั้งหมดต้องส่งเป็นไปรษณีย์ไปให้มหาวิทยาลัยเกียวโตโดยตรงเลยนะครับ ไม่มีการอัปโหลดออนไลน์ใด ๆ ทั้งสิ้น

4. ทุนการศึกษา

ICP เป็นโปรแกรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น (MEXT) ครับ นักเรียนไทยที่ติดรอบสัมภาษณ์ทุกคนได้รับทุนรัฐบาลญี่ปุ่นทุกคนเลยครับ ซึ่งครอบคลุมค่าเดินทางไปกลับ ค่าเทอมและรายจ่ายรายเดือน แต่ทุนจะประกาศหลังจากที่เราติดแล้ว ก็ต้องอดใจรอ (ลุ้น) กันเป็นเวลานานหน่อยว่าจะได้ทุนหรือไม่ แต่ถ้าดูจากประวัติที่ผ่านมา นักเรียนไทยทุกคนที่ติดได้ทุนนี้นะ ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าถ้าติดรอบสัมภาษณ์ไปแล้วจะไม่ได้ทุน


Tips & Tricks

  1. จากประสบการณ์ส่วนตัว รอบเอกสาร เราควรที่จะตั้งใจเขียน essay มาก ๆ แสดงทั้งความคิดสร้างสรรค์ ความฉลาดหลักแหลม และ passion ของเราลงไปให้เต็มที่ ถ้าจะให้ดี ก็เขียนเกี่ยวกับวิชาที่มหาลัย offer ให้ ที่เราสนใจ หรือ mention เกี่ยวกับ อาจารย์ หรือ แล็บ ก็ได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราทำการบ้าน หาข้อมูลเกี่ยวกับมหาลัยนี้มาเป็นอย่างดี

  2. ในส่วนคะแนน standardized ถึงแม้ว่ามหาลัยจะไม่ require แต่เราก็สามารถยื่นได้ แนะนำให้ยื่นคะแนนต่าง ๆ ที่เรามีไปให้หมด เช่น SAT subject EJU หรือ AP (แต่ถ้าคะแนนไม่สวยก็ไม่ต้องก็ได้นะ) และจากการสังเกต เพื่อนที่ไม่ติดรอบสัมภาษณ์นี้ ได้คะแนน SAT subject ไม่เต็ม หรือได้ IELTS น้อยกว่า 7.0

  3. ในส่วนรอบสัมภาษณ์ ยังไม่เคยมีใครที่รู้จักตกรอบนี้นะ เพราะเหมือนเค้าคัดโหดมากรอบส่งเอกสารแล้ว การสัมภาษณ์จะมีอยู่สามส่วน - ถามเกี่ยวกับ passion ว่าทำไมอยากเรียนวิศวะโยธา และ ทำไมต้อง ICP - คำถามปลายเปิดเป็นฟิสิกส์ (เช่น เมื่อเราโยนลูกบอลเป็น projectile ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อระยะทางที่ลูกบอลจะเคลื่อนที่ไปได้) พยายามตอบให้ได้มากที่สุด แสดงให้เขาเห็นว่าเรามีความรู้ฟิสิกส์มาก นอกเหนือจาก ปัจจัยง่าย ๆ ทั่วไป เช่น องศา ความเร็วต้น พี่ตอบเพิ่มเกี่ยวกับ ความสูงตอนเริ่มปา แรงต้านอากาศ magnus effect เป็นต้น - ถามเกี่ยวกับ essay ที่เราเขียนไปในรอบส่งเอกสาร ไม่มีอะไรมาก เขาแค่อยากได้คำอธิบายเพิ่มในบางจุดที่เขาสงสัย แนะนำอ่าน essay ตัวเองซ้ำหลาย ๆ รอบ และเลือกใช้ระดับภาษาอังกฤษที่เหมาะกับเรา จะได้ไม่ดูเหมือนว่าคนอื่นเขียนให้

รวม LInk ที่มีประโยชน์

https://www.s-ge.t.kyoto-u.ac.jp/int/en หน้าเว็บของโปรแกรม

https://www.s-ge.t.kyoto-u.ac.jp/int/en/admission/application/guidelines หน้าเว็บเกี่ยวกับการสมัคร

59 views0 comments

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page