Sirindhorn International Institute of Technology (SIIT) Thammasat University
: สถาบันเทคโนโลยีสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(รูปภาพจาก https://www.siit.tu.ac.th/about_siit.php)
ข้อมูลทั่วไปของมหาวิทยาลัย
ถ้าพูดถึงการศึกษาด้านวิศกรรมศาสตร์ด้วยการเรียนการสอนแบบนานาชาติประเทศไทยแล้ว Sirindhorn International Institute of Technology (SIIT) Thammasat University หรือสถาบันเทคโนโลยีสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็เป็นหนึ่งในสถาบันที่โดดเด่นในการผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งดั้งเดิมเคยเป็นหนึ่งในโปรแกรมวิศวะอินเตอร์ ธรรมศาสตร์ ต่อมาจึงได้แยกมาก่อตั้งเป็นสถาบันโดยเฉพาะแต่ก็ยังสังกัดอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมี 2 วิทยาเขตคือ ศูนย์รังสิตและศูนย์บางกะดีในจังหวัดปทุมธานีติดกับศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์มากมาย เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ , ศูนย์วิจัยแห่งชาติทั้ง 4 และทางสถาบันเองก็ยังมี 3 ศูนย์ 6 หน่วยวิจัยในด้านต่าง ๆ เช่น Construction and Maintenance Technology Research Center (CONTEC), Biomedical Engineering Research Unit (BioMed), Sustainable Energy and Low Carbon Research Unit (SELC) เป็นต้น
ผลงานของสถาบันก็มีทั้งรางวัลระดับนานาชาติด้านการวิจัยของนักศึกษาและบุคลากรในคณะรวมทั้งนักศึกษาต่าง ๆ ก็ได้รับทุนการศึกษาไปศึกษาต่อในต่างประเทศอีกด้วย SIIT จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่สนใจด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและการจัดการด้วยหลักสูตรนานาชาติ รวมถึงการวิจัยชั้นนำในระดับประเทศ
คณะที่เปิดรับสมัคร
สำหรับ SIIT จะเน้นไปด้านการจัดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและการจัดการ มีหลักสูตรในระดับปริญญาตรี (นานาชาติ) ใน 3 กลุ่มสาขาหลักคือ
Engineering (Bachelor of Engineering)
Civil Engineering (CE)
Electrical Engineering (EE)
Chemical Engineering (ChE)
Mechanical Engineering (ME)
Industrial Engineering and Logistics Systems (IE)
2. Computer Engineering (CPE) และ Digital Engineering (DE) (Bachelor of Engineering)
3. Management (Bachelor of Science)
Management Technology (MT)
Engineering Management (EM)
เราจะเลือกสาขาวิชาได้เมื่อจบปี 1 แต่ก็ขึ้นอยู่กับคะแนนของเราตลอดปีที่ผ่านมาและความนิยมของสาขานั้น ๆ ด้วยนะ บางสาขาวิชาก็จะมีสาขาย่อยไปอีก อย่างเช่น Civil Engineering จะแบ่งเป็น Green Civil Engineering และ Infrastructure Engineering เป็นต้น สามารถเข้าไปดูข้อมูลเกี่ยวกับสาขาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.siit.tu.ac.th/admission.php?sid=15&ssid=65 ทุนการศึกษา
ทาง SIIT จะมีการให้ทุนการศึกษาต่อเนื่องตลอด 4 ปีสำหรับนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกเข้ามาด้วยคะแนนสอบหรือ Portfolio ด้วยอันดับต้น ๆ มีทั้งหมด 4 ประเภทแบ่งตามจำนวนเงินที่ได้รับ
ทุนสร้างปัญญาวิทย์ ผลิตนักเทคโน (Young Scientist and Technologist Program: YSTP) จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงการศึกษาทั้งหมด (100%) และได้ค่าใช้จ่ายรายเดือน ๆ ละ 5,000 บาท
ทุนเต็มจำนวน (Full) จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงการศึกษาทั้งหมด (100%)
ทุนครึ่งจำนวน (Half) จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงการศึกษาครึ่งหนึ่ง (50%)
ทุนบางส่วน (Quarter) จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงการศึกษาบางส่วน (25%)
ในแต่ละรอบการสมัครจะมีการพิจารณาให้ทุนที่ต่างกัน บางรอบมี YSTP – Half ในขณะที่บางรอบมีแค่ Full – Quarter จะเล่ารายละเอียดในหัวข้อต่อไป
แนะนำตัวผู้เขียน
สวัสดีครับ ผม โจ้ ณัฐนันท์ คงชู วันนี้ก็มาอัพเดตบทความการศึกต่อกันอีกครั้ง ครั้งนี้จะเป็นอีกมหาวิทยาลัยที่ผมได้สมัครเพราะว่ามีทุน (อีกแล้ว 5555) ก็คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Sirindhorn International Institute of Technology Thammasat University) แต่ครั้งนี้ผมได้ไปสอบถามข้อมูลจากเพื่อนคนหนึ่งที่ได้ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อที่สถาบันแห่งนี้ (คนนี้ข้อมูลแน่นมากกก) จะให้แนะนำตัวนิดนึง ๆ
ชมพู่ : สวัสดีค่า เราชื่อชมพู่นะ กำลังจะไปเรียนต่อที่ SIIT สาขา Engineering Management ค่าา
ทำไมถึงต้องเลือกที่นี่
ชมพู่ : ก็มีคณะที่อยากได้และดีลกับพ่อแม่ลงตัวค่า แล้วก็มีทุนด้วย อีกอย่างก็คือใกล้บ้านด้วยค่า
(ก็เป็นเหตุผลหลักที่คล้าย ๆ กับผมและคนอื่น ๆ นะครับ เรื่องคณะที่เราอยากเรียน + ทุนการศึกษา + การใช้ชีวิต)
การสมัคร
SIIT จะมีการเปิดรับสมัครหลายรอบมาก ๆ จะแบ่งเป็น 6 รอบตามตารางด้านล่างนี้
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.siit.tu.ac.th/admission.php?sid=15&ssid=66
วิธีการสมัคร
ในการสมัคร SIIT ทั้ง 6 รอบนั้น จะมีขั้นตอนและเอกสารที่ต้องใช้บางอย่างที่เหมือนกัน ก็จะไล่ไปทีละวิธีนะครับ แล้วจะมีตารางสรุปตอนท้ายให้
1.Outstanding Student Program (OSP) (เกรดไม่ต่ำกว่า 2.75)
เอกสารที่ใช้ : ใบปพ. 1 แลำสำเนาบัตรปชช. (เอาไปยื่นในวันสอบสัมภาษณ์) วิธีการสมัคร : 1. สมัครทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของ SIIT 2. สอบข้อเขียนตามศูนย์สอบที่เลือก 3. ประกาศผลข้อเขียน แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ Scholarship candidate (คนที่ได้ไป สัมภาษณ์เพื่อพิจารณาทุน) และ Pass admission criteria (ผ่านคะแนนข้อเขียนจะ ได้รับ OSP certificate)
4. สัมภาษณ์สำหรับ Scholarship candidate 5. ประกาศผลทุน
ถ้าพอใจในทุนที่ได้ก็ให้ไปสมัครในรอบ Inter – Port 1 เพื่อรอยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา
ถ้าต้องการอัพทุนเพิ่ม ให้ไปสมัครรอบ Inter – Port 1 เพื่อสอบใหม่
2. Inter – Port 1 (เกรดไม่ต่ำกว่า 2.75)
เอกสารที่ใช้ : ใบปพ. 1 และ Portfolio หรือ คะแนนสอบต่าง ๆ เช่น (GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ, Standardized test, OSP certificate) วิธีการสมัคร : 1. สมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของ SIIT 2. สอบข้อเขียนในช่วงเช้าและสอบสัมภาษณ์ในช่วงบ่าย
3. ประกาศผลคนที่ได้ทุนและมีสิทธิ์เข้าศึกษา
4. ยืนยันสิทธิ์ผ่าน Clearing House ของ TCAS
อ้างอิงจาก https://www.siit.tu.ac.th/about_news_detail.php?nid=259
3. Inter – Port 2 (เกรดไม่ต่ำกว่า 2.75)
เอกสารที่ใช้ : ใบปพ. 1 และ Portfolio หรือ คะแนนสอบต่าง ๆ เช่น (GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ, Standardized test, OSP certificate)
วิธีการสมัคร : 1. สมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของ SIIT
2. สอบสัมภาษณ์ (ไม่มีข้อเขียน)
3. ประกาศผลคนที่มีสิทธิ์เข้าศึกษา
4. ยืนยันสิทธิ์ผ่าน Clearing House ของ TCAS
4. Inter – Admission 1 (ไม่กำหนดเกรด)
เอกสารที่ใช้ : ใบปพ. 1 และ Portfolio หรือ คะแนนสอบต่าง ๆ เช่น (GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ, Standardized test, OSP certificate) และสำเนาบัตรปชช. วิธีการสมัคร : 1. สมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของ SIIT
2. เลือกโครงการที่จะสมัครเพียง 1 โครงการ
3. สอบข้อเขียนสำหรับโครงการ SIIT Entrance Exam, นักเรียนอาชีวศึกษา, และคน ที่ต้องการชิงทุน แล้วสอบสัมภาษณ์ (ทุกโครงการ)
4. ประกาศผลผู้ที่ได้รับทุนและคนที่มีสิทธิ์เข้าศึกษา 5. ยืนยันสิทธิ์ผ่าน Clearing House ของ TCAS
5. TCAS 3
เอกสารที่ใช้ : ใบปพ. 1 สำเนาบัตรปชช.และใบคะแนน GAT/PAT
วิธีการสมัคร : 1. สมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของ myTCAS
2. ประกาศผลคนที่มีสิทธิ์เข้าศึกษา
3. ยืนยันสิทธิ์ผ่าน Clearing House ของ TCAS
6.Inter – Admission 2 (ไม่กำหนดเกรด)
เอกสารที่ใช้ : ใบปพ. 1 และคะแนนสอบต่าง ๆ เช่น (GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ, Standardized test, OSP certificate) วิธีการสมัคร : 1. สมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของ SIIT 2. เลือกโครงการที่จะสมัครเพียง 1 โครงการ
3. สอบข้อเขียนสำหรับโครงการ SIIT Entrance Exam และนักเรียน อาชีวศึกษา ไม่มีสัมภาษณ์ 4. ประกาศผลผู้ที่่มีสิทธิ์เข้าศึกษา 5. ยืนยันสิทธิ์ผ่าน Clearing House ของ TCAS
สรุปเอกสารที่ต้องใช้
สรุปรอบการสอบ
ในส่วนนี้จะเป็นคำแนะนำของพี่ชมพู่จากการสมัครรอบ OSP และ Inter – Port 1 นะครับ แต่ก็สามารถไปปรับใช้กับรอบอื่น ๆ ได้เช่นกัน
ก่อนสอบ - ทวนเนื้อหาที่คิดว่าตัวเองไม่แม่น คืนก่อนสอบไม่ต้องอ่านจนดึกแล้ว เดี๋ยวจะหลับคาห้องสอบแล้วจะไม่มีเวลามาทำให้ทันเลย ทำสมองให้โล่ง ๆ ไม่ต้องเครียดมาก (โจทย์จะไม่ค่อยเน้นความยาก จะเน้นที่พื้นฐานแน่น ๆ ของวิทย์-คณิตมัธยม วิธีคิดจะไม่ได้พลิกแพลงมาก ถ้าเข้าใจว่าโจทย์กำลังถามถึงเรื่องอะไร ก็จะนึกวิธีทำออกได้ไม่ยากครับ อ้อ โจทย์เป็นข้อช้อยส์และเป็นภาษาอังกฤษนะครับ)
ก่อนเข้าห้องสอบ - ทวนนิดหน่อย เช่น สูตรที่ไม่มั่นใจ ทำใจร่ม ๆ ก่อนเข้า อย่าตื่นเต้นเกินไป
ตอนสอบ - ดูเวลาว่าต้องทำได้สูงสุดข้อละกี่นาที เพราะมันเป็น speed test และไม่ได้ง่ายมาก ถ้าหวังทุนสูง ๆ ต้องพลาดน้อยที่สุด คิดคำตอบให้ดีและไว ถ้าเวลาเหลือให้กลับมาทวน
ก่อนสัมภาษณ์ - จะสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ใครไม่ค่อยกล้าพูดให้ฝึกพูดเยอะ ๆ ก่อน เตรียมคำถามพวกเกี่ยวกับตัวเองและตอบให้เขาเห็นว่าเราอยากเข้าไปเรียนกับเขา
ตอนสัมภาษณ์ - ไม่ต้องเกร็งมากและตอบให้เป็นตัวเอง (ผมขอเสริมด้วยว่าตอบให้เป็นตัวเรามากที่สุดครับ โดนถามอะไรก็เล่าไปตรง ๆ เลย กรรมการอาจจะหยิบสิ่งที่เราเขียนในใบสมัครก่อนการสัมภาษณ์มาถามเช่น รางวัลที่เคยได้รับ วิชาที่ถนัด เป้าหมายในการเรียน)
รวม Link ที่มีประโยชน์
https://www.siit.tu.ac.th/index.php หน้าเว็บของ SIIT
https://www.siit.tu.ac.th/admission.php?sid=85 แนะนำโครงการ SIIT
https://www.siit.tu.ac.th/admission.php?sid=15&ssid=65 สาขาที่เปิดรับสมัคร
https://www.siit.tu.ac.th/admission.php?sid=15&ssid=66 รอบการสมัครต่าง ๆ
Comments