ข้อมูลทั่วไป
มหาวิทยาลัยนาโกย่า หลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนี้ติด Top 4 ของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น และ Top 113 ในโลก มหาวิทยาลัยนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเศรษฐกิจของญี่ปุ่น มีสถานที่ท่องเที่ยวรอบ ๆ มากมาย เช่น ปราสาทนาโกย่า ศาลเจ้าที่ร่มรื่นอาสุตะ Nagoya City Science Museum ซึ่งมีท้องฟ้าจำลองที่ใหญ่ที่สุด เมืองนาโกย่าตั้งอยู่ระหว่างเมืองโตเกียวและเมืองเกียวโต เป็นแหล่งที่ตั้งของบริษัทที่มีชื่อเสียงมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทรถยนต์ เช่น Toyota, Mitsubishi, Nissan และ Honda นักศึกษาจำนวนมากที่จบจากมหาวิทยาลัยนี้มีโอกาสฝึกงานหรือทำงานกับบริษัทเหล่านี้
เพื่อนๆ หรือน้อง ๆ สามารถไปเรียนต่อโดยไม่จำเป็นต้องรู้ภาษาญี่ปุ่นมาก่อน เพียงยื่นคะแนน TOEFL iBT 80 หรือ IELTS 6 ขึ้นไป และสามารถส่งคะแนน IB, AP, A-Level, หรือ EJU ได้อีกด้วย
รายวิชาที่เปิดสอน
มหาวิทยาลัยนาโกย่า เปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ ป.ตรี - เอก หลายหลักสูตร อาทิ
1. วิศวกรรมยานยนต์ – เครื่องกล และ วิศวกรรมยานยนต์ – ไฟฟ้าและสารสนเทศ
2. ฟิสิกส์
3. เคมีศาสตร์ – วิศวกรรม และ เคมี - วิทยาศาสตร์
4. ชีววิทยา – วิทยาศาสตร์ และ ชีววิทยา - การเกษตร
5. สังคมวิทยา – กฎหมาย และ สังคมวิทยา – เศรษฐศาสตร์
6. วัฒนธรรมญี่ปุ่น
ทุนการศึกษา
ผู้สมัครมีโอกาสรับทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (MEXT Scholarship) จากการเสนอชื่อผู้สมัครที่โดดเด่นให้กับรัฐบาลญี่ปุ่นโดยตรง เนื่องจากมหาวิทยาลัยนาโกย่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยรัฐของญี่ปุ่น (Japanese Imperial Universities) นั่นเอง
ยังมีอีกทุนของมหาวิทยาลัยนะครับ ก็คือทุน Global30 ครับ ซึ่งครอบคลุมทั้ง ค่าเรียน ค่าที่พัก อาหาร ปีละ 500,000 เยน นับเป็นอีกทุนใจดีทุนหนึ่งจากมหาวิทยาลัยที่ช่วยเหลือนักเรียนต่างชาติครับ
การสมัคร
การสมัครมหาวิทยาลัยนี้มีอยู่สองรอบ ยกเว้นสาขาชีววิทยาและสาขาวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่จะมีแค่ใน First Round เวลาการสมัครทั้งสองรอบนี้ดูได้ตามตาราง
ตามตารางด้านล่างนี้ *กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามประกาศมหาวิทยาลัย
ขั้นตอนการคัดเลือกตรวจเอกสาร (Online Admission System available)
มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสโดยใช้เอกสารดังนี้
1. ใบสมัครผ่านระบบออนไลน์: http://admissions.g30.nagoya-u.ac.jp/en/
2. คะแนนสอบ SAT, AP, A-Level วิชาตามคณะที่สมัคร
3. คะแนนสอบภาษาอังกฤษ TOEFL 80 /IELTS 6
4. ผลการเรียน (Transcript)
5. ประกาศนียบัตรการจบการศึกษาชั้นม.6 (Graduation Diploma)
6. เรียงความ 2 เรื่อง 400 – 600 คำ (Essays)
7. จดหมายประเมินจากครู (Teachers Recommendation)
ที่สำคัญคือเอกสารทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษนะครับ
*เอกสารทั้งหมดให้ตรวจสอบกับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยอีกครั้ง
ผู้สมัครก็ต้องอัปโหลดเอกสารที่ระบบรับสมัครออนไลน์ และอาจจะมีเอกสารบางชิ้นที่ต้องส่งไปรษณีย์ไปให้มหาวิทยาลัยด้วย ดังนั้นต้องศึกษา Application Instructions ของแต่ละปีให้ดีนะครับ
ขั้นตอนสัมภาษณ์
หลังจากขั้นตอนนี้จะเป็นการประกาศเรียกคนที่ผ่านรอบคัดเลือกตรวจเอกสารเข้าสัมภาษณ์แล้วนะครับ นักเรียนที่ผ่านรอบแรกมาได้จะถูกเรียกให้ไปสัมภาษณ์ใน office ของมหาวิทยาลัย (ถ้าเป็นประเทศไทยก็อยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ) หรือก็อาจสัมภาษณ์ทาง skype คำถามก็จะแบ่งเป็นเนื้อหาวิชาการและคำถามทั่วไป คำถามวิชาการจะเป็นเนื้อหาตามคณะที่เราสมัครไปเลย ส่วนคำถามทั่วไปก็เช่นทำไมถึงอยากเข้าที่นี่ ที่นี่ดีอย่างไร ซึ่งก็ชิวพอสมควร แนะนำให้ตอบไปไม่ต้องเครียดมากครับ จากนั้นหากเวลาเหลือเขาก็จะชวนคุยเรื่องอื่น ๆ แล้วครับ เช่น โฆษณาเกี่ยวกับตัวคณะ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
コメント